หลักสูตร

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน)
ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ (การเงิน)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administrator Program in Finance
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A (Finance)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

            ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่ามีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามประกาศ หรือเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

โครงสร้างหลักสูตร

วิชาที่จะได้เรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาแกนบริหารธุรกิจ 45 หน่วยกิต

– ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ 1
– ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ 2
– กฎหมายธุุรกิจและการพาณิชย์
– เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการธุรกิจ
– จริยธรรมทางธุรกิจ
– การวิเคราะห์เชิงปริมาณและสถิติธุรกิจ
– หลักการวิจัยทางธุรกิจ
– หลักการบัญชีชั้นต้น
– การเงินธุรกิจ
–  การภาษีอากร
– หลักการตลาด
– หลักการจัดการ
– การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน
– การจัดการทรัพยากรมนุษย์
– การจัดการเชิงกลยุทธ์

กลุ่มวิชาเนื้อหาบังคับ 10 หน่วยกิต

– บัญชีการเงิน
– การเงินและการธนาคาร
-การเงินส่วนบุคคล
– ตลาดการเงิน
– หลักการลงทุน
– การเงินระหว่างประเทศ
– การจัดการการเงินขั้นสูง
– เศรษฐศาสตร์การเงิน
– การวิเคราะห์หลักทรัพย์
– สัมมนาทางการเงิน

กลุ่มวิชาเนื้อหาเลือก ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

– โปรแกรมสำเร็จรูปและการประยุกต์ใช้งานด้านธุรกิจ
– การบัญชีเพื่อการจัดการ
– สถาบันการเงิน
– การเงินชุมชน
– เศรษฐศาสตร์จุลภาค
– เศรษฐศาสตร์มหภาค
– การเงินโลก
– วานิชธนกิจ
– การจัดการสินเชื่อ
– การคลังสาธารณะ
– การลงทุนทางการเงิน
– การเงินเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
– การจัดการการลงทุนสำหรับโลจิสติกส์
– อนุพันธ์ทางการเงิน
– ที่ปรึกษาและนักวางแผนทางการเงิน
– เศรษฐมิติทางการเงินเบื้องต้น
– การประกันภัย
– ทฤษฎีและนโยบายการเงิน
– การเงินเพื่อการนำเข้าและส่งออก
– การวิเคราะห์และประเมินโครงการ
– การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
– วิจัยทางการเงิน
– การตลาดระหว่างประเทศ
– ธุรกิจระหว่างประเทศ
– การเป็นผู้ประกอบการ
– สัมมนาทางการเงิน

ความสำคัญ

– ยุทธศาสตร์ด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพที่ยั่งยืน ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านการเงิน
– ยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคลัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2559 สร้างความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานทางการเงิน การออม การลงทุน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน AEC มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี

การสนับสนุนการศึกษา

– มีทุนการศึกษาให้ตลอดหลักสูตร ทั้งทุนเรียนฟรี ทุนกู้ยืม เป็นต้น
– มีสิทธิเข้าพักอาศัยหอพักภายในมหาวิทยาลัยตลอดระยะเวลาที่เรียน
– มีการอบรมการเงินจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำทุกปี
– มีการศึกษาดูงาน เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
– สามารถเรียนจบภายใน 3 ปีครึ่งได้

แนวทางการประกอบอาชีพ

– อาชีพสายธนาคาร (Banking)
– อาชีพสายการเงินของบริษัท (Corporate Finance)
– อาชีพสายหลักทรัพย์และวาณิชยกิจ (Securities and Investment Banking)
– อาชีพสายจัดการลงทุน (Fund Management)
– นักลงทุน (Investor)
– บุคลากรสายวิชาการ/การเงินในสถาบันการศึกษาของรัฐบาลและเอกชน
– ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ (Entrepreneur)